Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player







  
   

 -:-...วัดถ้ำผาแด่น บ้านดงน้อย หมู่ที่ 9 ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร...-:-
Copyright @ 2016 All right reserved by Phichitchai Khamtangna and Sirayu Mungkhun

     
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร

ติดตามข่าวสารได้ทางแฟนเพจ











     ภูผาแด่น   มีลักษณะเป็นป่าดงดิบ  และมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยเมื่อในอดีตที่ผ่านมา  ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วย ฝูงสัตว์ป่า และพันธุ์ไม้นานาพันธุ์  หลายชนิด  เช่น ฝูงเสือ,โขลงช้าง,ลิง,ค่าง,บ่าง,ชะนี,อีเก้ง,กวาง,งูจงอาง.งูเห่า.วัวป่า.ละมั่ง,หมีควาย,หมาป่า,เลียงผา,ไก่ป่า,นกยูง,กระแต,กระกรอก,กบ,เขียด,และค้างคาว ฯลฯ ตลอดจนเต็มไปด้วยป่าสมุนไพรนานาชนิด  ดอกไม้นานาพันธุ์  นอกจากนั้นเทือกเขาภูพานแห่งนี้ยังเป็นแหล่งต้นกำเนิดแหล่งน้ำที่สำคัญ  และต้นกำเนิดของแม่น้ำ, ลำธาร,ห้วยน้ำ    เช่น ห้วยปุ,ห้วยเรือ,เป็นแหล่งกำเนิดลำน้ำพุง,ลำน้ำอูน,ห้วยเดียก และแหล่งน้ำอื่น  ๆ ซึ่งเป็นต้นน้ำที่ใช้ประกอบการเกษตรของชาวสกลนครและนครพนม เป็นต้น  โดยเฉพาะที่ภูผาแด่นบนยอดเขา ยังเป็นแหล่งน้ำแร่ที่ใสสะอาด  ที่ผุดขึ้นมาจากยอดเขาในป่าดงดิบ เป็นน้ำแร่ธรรมชาติไหลตลอดปี  หล่อเลี้ยงในวัดถ้ำผาแด่นไม่เคยหยุดไหล ตลอดจนให้ความอุดมสมบูรณ์กับธรรมชาติ  เช่น วัดถ้ำผาแด่น ,สัตว์ป่า, ต้นไม้ นานาพันธุ์ ได้พึ่งพาอาศัย จากต้นน้ำ   ภูผาแด่น  อยู่ในเขตพื้นที่ปกครองบ้านดงน้อย  ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร  ตั้งอยู่ในบริเวณเทือกเขาภูพาน ตอนกลาง  มีลักษณะเป็นเขาสูงเป็นสันยาวไปตามเทือกเขา  มองไปเห็นพื้นที่รอบ ๆ หลายกิโลเมตร  สามารถมองเห็นตัวเมืองสกลนคร ,หนองหาร และพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์  ตลอดจนความสวยงามของ ทิวทัศน์โดยรอบ ๆ  และยังเป็นทิวเขาที่เป็นทิวเขาทอดมาจากจังหวัดอีสานเหนือ  จนสุดเขตจังหวัดอีสานใต้   ตามหลักภูมิศาสตร์     หน้าผาแด่น  มีลักษณะเป็นผาหิน  สูงชัน เป็นสีขาว- คราม แลดูมีความสวยงามมีเสน่ห์สามารถมองเห็นไปได้ไกลหลายกิโลเมตร   บริเวณรอบ ๆ ตีนผา  มีหญ้า  และต้นไม้น้อยใหญ่ ขึ้นอยู่ รอบเรียงราย และยังมีผาน้ำหยด (น้ำตก) ไหลลงมาจากหน้าผา ตลอดทั้งปี       เมื่อก่อนนี้  ยังมีรังผึ้งหลวง   มาทำรังอยู่ตามหน้าผาอยู่ทั้งปี  ซึ่งในปีหนึ่งผึ้งหลวงจะทำรังมากถึงปีละ 200-300 รัง โดยขนาดของรังผึ้งมีขนาดใหญ่ 2-3 เมตร   เกาะอยู่ตามหน้าผา  ดูแล้วสวยงามน่าอัศจรรย์ ในความงามของธรรมชาติสร้างสรรค์  แต่เดียวนี้ถูกชาวบ้านตีเอารังผึ้งไปหมด ทำให้ปริมาณของรังผึ้งที่เคยมาอยู่อาศัย  ตามหน้าผาหมดไป  แทบไม่มีให้เห็น  และยังมีฝูงค้างคาวบินโฉบกินแมลงอยู่ทั้งคืน นับเป็นความงามของธรรมชาติ ที่พึ่งพาอาศัยกันอย่างลงตัว   และยังมีหน้าผาช่องแคบ เป็นหินที่แยกออกจากกันสวยงาม เหมือนมีใครมาตกแต่ง  โดยหินได้แยกออกจากกัน เป็นช่องพอสำหรับคนเดินไปตรงกลางช่องหิน  ด้านบนเป็นลานหินกว้าง  ตามสันเขาที่เคยถูกตัดต้นไม้   จนโล่งเตียนเป็นลานหญ้าคา  ขณะนี้พระภิกษุได้นำพันธุ์ไม้นานาพันธุ์มาปลูกใหม่จนเต็มไปด้วยต้นไม้กำลังขึ้นแทนที่  ป่าไม้ที่เคยถูกตัดทำลาย   หน้าผาภูผาแด่น  มีลักษณะทอดยาวเป็นแนวตามสันเขาภูพาน  ทางด้านทิศตะวันออกทอดมาจากถ้ำบิ้ง (ถ้ำค้างคาว) ซึ่งเป็นลานหินที่กว้างใหญ่ และสวยงาม  ซี่งลานหินนี้เคยมีประวัติ  ความเป็นมาว่าเมื่ออดีต  เป็นที่ปักกลด  ธุดงค์ วิเวก บำเพ็ญธรรม  ของหลวงปู่มั่น   ภูริทตฺโต   เมื่อในอดีตที่ผ่านมา  ดังที่จะกล่าวในช่วงต่อไป  ทางด้านทิศตะวันตกของถ้ำผาแด่น   ทอดยาวไปจดกับภูกะต่อย  ซึ่งถ้ำแห่งนี้เคยมีประวัติความเป็นมาว่า เป็นที่ปักกลด ธุดงค์ วิเวก  บำเพ็ญธรรม ของ พระอาจารย์ วัน  อุตฺตโม  แล้วจะได้นำมาเล่าในช่วงต่อไป  ถ้าพิจารณาให้ดี โดยธรรมชาติที่สวยงามแล้ว  วัดถ้ำผาแด่นมีความสวยงามไม่แพ้วัดเขาสุกิม ของพระอาจารย์ หลวงปู่ สมชาย  ที่ยังคงความสวยงามเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นทิวทัศน์  ทัศนีย์ภาพ ของธรรมชาติ  ได้อย่างลงตัว     ถ้ำผาแด่น   เป็นส่วนหนึ่งของหน้าผาแด่น  มีลักษณะเป็นโพลงลึกเข้าไป เป็นโพลงหินลึก  ส่วนที่เป็นถ้ำบางถ้ำ  เช่น  ถ้ำที่อยู่หน้าผาแด่น มีความลึกไม่มาก ประมาณ  5-10 เมตร แต่จะยาวไปตลอดหน้าผาแด่น ถ้ำหลวงปู่ฝั้น  อาจาโร  ที่เคยอยู่ปฏิบัติธรรม  มีความลึกจากด้านนอก  คือจากปากถ้ำลึกถึงข้างใน ประมาณ 22 เมตร  มีความกว้าง ประมาณ  10 เมตร  ถ้ำหลวงปู่ฝั้น  จะมีน้ำไหลตลอดทั้งปี  โดยน้ำจะหายไปในถ้ำแล้วไปไหลออกที่ห้วยปุ  ทำให้ห้วยปุมีน้ำไหลทั้งปี   ถ้ำหลวงปู่ วัน  อุตตโม  ที่เคยอยู่ปฏิบัติธรรม  มีความลึกประมาณ 10  เมตร ยาวประมาณ 30 เมตร และจะมีน้ำไหลมาจากบ่อน้ำทิพย์  ตกลงมาหน้าถ้ำตลอดทั้งปีเหมือนกัน  ถ้ำพวง เป็นที่หลวงปู่หล้า  เขมปตฺโต  เคยปฏิบัติธรรม  เป็นโพลง ลึกเข้าไปในโพลงหิน เพราะเมื่อสมัยก่อนเรียกถ้ำที่เป็นโพลงลึกเข้าไปว่า  “พวง”    แต่ทุกวันนี้ เรียกถ้ำพวงว่า  “ถ้ำตะวันแดง”  ถ้ำพวงจุดนี้ จะมีสิ่งพิเศษ เกิดขึ้นอยู่ใกล้เคียง กับถ้ำพวงโดยธรรมชาติอย่างน่าอัศจรรย์โดยธรรมชาติสร้างสรรค์  ไว้อย่างลงตัวคือ  “สะพานเชื่อมฟ้า” คือเป็น หินที่ถูกธรรมชาติกัดกร่อน จนเป็นสะพานเดินข้าม  ไปสู่ภูเขาหินอีกลูกได้อย่างลงตัว    เหมือนสะพานหินที่มีใครไปสร้างเอาไว้  ให้เชื่อต่อกับท้องฟ้าอย่างสวยงาม  สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบ ๆ คือเมืองสกลนครและหนองหารได้ทั้งจังหวัด    ในพื้นที่ใกล้เคียงกับสะพานเชื่อมฟ้า  ก็จะพระเจดีย์หินเก่า  โดยมีหินเรียงกันเป็นชั้น ๆ เหมือนเจดีย์หินโบราณ  คล้ายกับว่ามีคนนำเอาหินมาตั้ง  สูงขึ้นให้เป็นเจดีย์เอาไว้ โดยเรียงจากก้อนใหญ่ ไปหาก้อนเล็ก  และตั้งอยู่บนลานหินกว้างบนหน้าผาแด่น  มองแล้วก็จะเห็นเป็นพระเจดีย์หินตั้งสง่าอยู่บนหน้าผาแด่นสวยงาม  กลมกลืนกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว   และบนเทือกเขาภูผาแด่นมีสิ่งอัศจรรย์อีกสิ่งหนึ่ง คือ บ่อน้ำทิพย์สุญญตา  ถือได้ว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์  ที่เป็นแหล่งน้ำสำคัญในการนำมาใช้อุปโภค บริโภค ในวัดถ้ำผาแด่น และบ่อน้ำแหล่งนี้  จะใส่สะอาดบริสุทธิ์ ผุดขึ้นมาจากกลางป่าดงดิบ รกชัฏ  ของภูผาแด่น โดยน้ำไหลออกบ่อตลอดทั้งปีไม่เคยขาด  แต่บางครั้งเมื่อมีปัญหา  หรือใครไปทำอะไรไม่ดี หรือไม่เคารพต่อบ่อน้ำก็จะหยุดไหลเอาดื้อ ๆ  จนต้องหาดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมา  จึงไหลออกมาเหมือนเดิม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Free Web Hosting